ความเป็นมาของวิทยาลัยฯ
  • ประวัติและความเป็นมาของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร เมื่อจังหวัด มุกดาหาร ได้ประกาศจัดตั้งในปี พ.ศ.2525 ซึ่งแยกออกจากจังหวัดนครพนม ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี มีความตื่นตัวที่จะให้จังหวัดมุกดาหาร มีสถานศึกษาของรัฐที่เปิดสอนสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา ในปี พ.ศ.2529 กองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา ได้เสนอจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคเบ็ดเสร็จ มุกดาหาร (พร้อมกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน) หลายฝ่ายให้การสนับสนุนโดย กรมอาชีวศึกษา ได้ตั้งคณะกรรมการออกเป็น 3 ชุด ชุดที่ 1 คณะกรรมการอํานวยการจัดตั้งมี นายบุญเทียม เจริญยิ่ง (อธิบดีกรมอาชีวศึกษา) เป็นประธาน ชุดที่ 2 คณะกรรมการดําเนินการจัดตั้ง นายพินิจ ศุภวัฒน์ ผู้อํานวยการวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น และชุดที่ 3 นายทรงสวัสดิ์ ทิพย์คงคา ผู้อํานวยการ วิทยาลัยเทคนิคยโสธร นายอาทร จันทวิมล ผู้อํานวยการกองวิทยาลัยเทคนิค และนายพินิจ สว่างคํา ผู้อํานวยการกองแผนงาน รับผิดชอบในการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคเบ็ดเสร็จมุกดาหาร แต่เมื่อมีการ ประชุมร่วมระหว่างจังหวัดมุกดาหารกับข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ นายสมาน แสงมลิ และคณะอํานวยการจัดตั้งวิทยาลัยฯ จังหวัดมุกดาหารได้เสนอข้อมูลให้กรมอาชีวศึกษา เนื่องจาก มีสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในสังกัดหลายรูปแบบจึงเสนอขอเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยการอาชีพ มุกดาหาร” ซึ่งสื่อความหมายครอบคลุมทุกสาขาวิชาได้ดีกว่า นายบุญเทียม เจริญยิ่ง ประธาน กรรมการจัดตั้งวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบพร้อมเสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยการอาชีพ แม่ฮ่องสอน ด้วยอีกแห่งหนึ่ง และเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2530 นายบรรจง ชูสกุลชาติ อธิบดีกรม อาชีวศึกษาเห็นชอบและรัฐมนตรีว่าการกรทรวงศึกษาธิการ นายมารุต บุญนาค ได้ลงนามในประกาศ จัดตั้งเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 จึงนับได้ว่าวิทยาลัยการอาชีพมุกดาหาร เป็นวิทยาลัย การอาชีพแห่งแรกของประเทศไทย และกรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้ง นายพงษ์ ลิ้มวงษ์สกุล ผู้ช่วย ผู้อํานวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมบุรีรัมย์ รักษาการในตําแหน่งผู้อํานวยการวิทยาลัยการอาชีพ มุกดาหาร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530
  • ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2533 ได้โอนความรับผิดชอบไปอยู่ในสังกัดกองการศึกษาอาชีพ ในนาม วิทยาลัยการอาชีพมุกดาหาร และได้รับพระราชทานชื่อเป็น "วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินี มุกดาหาร" เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ (หนังสือสํานักราชเลขาธิการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535)
  • พ.ศ. 2534 เปิดรับนักเรียนรุ่นแรกตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) พุทธศักราช 2530 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2533) ในสาขาวิชาสัตวบาล สาขาวิชาช่างกลเกษตร และเปิดสอน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
  • พ.ศ. 2535 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) เพิ่มเติม ดังนี้ สาขาวิชา ช่างไฟฟ้ากําลัง สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาคหกรรม สาขาวิชาพืชกรรม และ หลักสูตรระยะสั้นหลากหลาย และ ระยะสั้น 225 ชั่วโมง 10 รุ่น
  • พ.ศ. 2541 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) พุทธศักราช 2540 รุ่นแรก 5 สาขาวิชา คือ 1. สาขาวิชาไฟฟ้ากําลัง 2. สาขาวิชาการก่อสร้าง 3. สาขาวิชาช่างยนต์ 4. สาขาวิชา การบัญชี และ 5. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
  • พ.ศ. 2546 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ปัจจุบันมีเนื้อที่รวม 60 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 68 หมู่ที่ 6 ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร รหัสไปรษณีย์ 49000 โทรศัพท์ 0-4261-2965 โทรสาร 0-4261-2964 E-mail : saraban@mec.ac.th เว็บไซต์ www.mec.ac.th